วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

                                                       Lesson 14
                                               28/04/2016 (เรียนชดเชย)


Knowledge




     แผนการศึกษาที่สร้างขึ้นเพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอนและช่วยเหลือฟื้นฟู ให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็กโดยละบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผน

การเขียนแผน IEP
- คัดแยกเด็กพิเศษ
- ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
- ประเมินพัฒนาการเด็กเป็น ระยะ
- เด็กสามารถทำอะไรได้/ทำอะไรไม่ได้

IEP ประกอบด้วย
- ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
- ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นได้รับพิเศษบริการออะไรบ้าง
- การระบุความสามารถของเด็กในปัจจุบัน
- เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น

ประโยชน์ต่อเด็ก
- ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
- ได้มีโอกาสพัฒนาศักยภาพของตน
- ได้รับการศึกษาที่ฟื้นฟูอย่างต่อเนื่อง
- ถ้าเด็กเข้าโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าเรียนเฉยๆ

ประโยชชน์ต่อครู
- เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
- เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการเรียนการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะสมกับเด็ก
- ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
- เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
- ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ





ตัวอย่างการเขียนแผนและการทดลองเขียนแผน IEP






ทำกิจกรรมวาดวงกลม





ได้รางวัลเด็กดี






Application
    สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการเขียนแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลได้ในอนาคต

Self Evaluation
     มาเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังขณะที่อาจารย์กำลังสอน ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย

Evaluation for classmated
เพื่อนมาเรียนตรงเวลา ตั้งใจทำงานที่ได้รับผิดชอบ แต่งกายถูกระเบียบ ไม่พูดคุยเสียงดัง

Evaluating teacher
  แต่งกายมาสอนเหมาะสม  มีตัวอย่างแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลมาให้ทำเพื่อสร้างความเข้าใจมากขึ้น ปิดครอสการเรียนมีการแจกรางวัลให้กับนักศึกษาที่มีจำนวนดาวมากที่สุด อาจารย์เป็นกันเองเรียนสนุกไม่เครียด








                                                 Lesson 13
                                                22/04/2016




Knowledge





1.เพื่อให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน
2.ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด
3.เน้นการดูแลแบบองค์รวม ( Holistic Approach)

1. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
- เพิ่มทักษะพื้นฐานทางสังคม การสื่อสารและทักษะทางความคิด
- เกิดผลดีในระยะยาว
- เน้นการเตรียมความพร้อมเพื่อให้เด็กสามารถใช้ในชีวิตประจำวันจริงๆแทนการฝึกแต่เพียงทักษะทางวิชาการ
- แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล ( Individualized Education Program ; IEP)


2.การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
-การฝึกฝนทักษะในชีวิตประจำวัน
-การฝึกทักษะทางสังคม
-การสอนเรื่องราวมางสังคม





Picture Exchange Communication System (PECS)










การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
1.ทักษะทางสังคม เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการขาดพ่อแม่
- กิจกรรมการเล่น การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
ยุทธศาสตร์การสอน 
ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
จดบันทึก ทำแผน IEP




การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
-วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง คำนึงถึงเด็กทุกๆคน ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน
- เด็กปกติทำหน้าที่เป็นครูให้เด็กพิเศษ

ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
- อยู่ใกล้ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจ ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
-ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กเกินไป
-เอาวัสดุมาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาเพิ่ม
-ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม





การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
- ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน
- ทำโดยการพูดนำของครู
2. ทักษะทางภาษา
การออกเสียงผิด/พูดไม่ชัด 
การพูดตกหล่น การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง ติดอ่าง

การสอนตามเหตุการณ์







3. ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด การกินอยู่ การเข้าห้องน้ำ การแต่งตัว กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน

4. ทักษะพื้นฐานทางการเรียน
การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้ มีความรู้สึกดีต่อตนเอง อยากสำรวจอบากทดลอง





Application
    สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการจัดรูปแบบการเรียนและส่งเสริมการเรียนรู้แบบเรียนร่วมได้อย่างเหมาะสมกับพัฒนาาการและทักษะด้านต่างของๆเด็กพิเศษให้ดีขึ้น

Self Evaluation
     มาเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังขณะที่อาจารย์กำลังสอน 

Evaluation for classmated
เพื่อนมาเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังขณะที่อาจารย์กำลังสอน แต่งกายถูกระเบียบ ไม่พูดคุยเสียงดัง

Evaluating teacher
  แต่งกายมาสอนเหมาะสม  สอนและอธิบายเนื้อหาได้ละเอียดเข้าใจง่าย







วันจันทร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2559

                                                    Lesson 12
                                                   01/04/2016



Knowledge





























Application
   สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการจัดรูปแบบการเรียนรู้แบบเรียนรวมและเรียนร่วมได้อย่างถูกต้องและเหมาะกับวัยได้รู้ว่าการเรียนร่วมกับเรียนรวมแตกต่างกันอย่างไรมีแนวการสอนแบบไหนนำไปใช้ได้จริงในอนาคตเกี่ยวกับการเรียนการสอนแบบเรียนรวมท

Self Evaluation
     มาเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังขณะที่อาจารย์กำลังสอน ให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม

Evaluation for classmated
เพื่อนมาเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังขณะที่อาจารย์กำลังสอน แต่งกายถูกระเบียบ

Evaluating teacher
  มาสอนตรงเวลา แต่งกายมาสอนเหมาะสม มีกิจกรรมที่น่าสนใจมาสอนเพิ่มเติมที่มีทั้งความสนุกสนานและข้อคิดที่ดีๆ

วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2559

                                      Lesson 11
                                     25/03/2016


อาจารย์บอกคะแนนและให้ดาวนักศึกษาที่ทำคะแนนสอบได้ดี






เฉลยพร้อมตรวจสอบข้อสอบ




                        

วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2559

                                    Lesson 10
                                   18/03/2016



                         สอบเด็กพิเศษ (Final)





                                  

วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2559

                                                    Lesson 9
                                                  11/03/2016


Knowledge

อาจารย์แนะแนวเกี่ยวกับการออกฝึกสอน





เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ ( Children with Behavioral and Emotional Disorders)
                                 


- มีความรู้สึกนึกคิดที่ผิดไปจากปกติ
- แสดงออกถึงความต้องการทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น
- มีความเชื่อมั่นในตัวเองต่ำ
- เด็กที่มีการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกตินานๆไม่ได้
- เด็กที่ควบคลุมพฤติกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้

ลักษณะของเด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
ความวิตกกังวล ซึ่งทำให้เด็กมีนิสัยขี้กลัว
ภาวะซึมเศร้า มีความเศร้าในระดับที่สูงเกินไป
ปัญหาทางสุขภาพและขาดแรงกระตุ้นหรือความหวังในชีวิต
จำแนกเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารามณ์
 ตามกลุ่มอาการ

ด้านความประพฤติ
ทำร้ายผู้อื่น ทำลายสิ่งของ ลักทรัพย์ ฉุนเฉียวง่าย หุนหันพลั่นแล่น และเกร๊ยวกราด กลับกรอก เชื่อถือไม่ได้ ชอบโกหก ชอบโทษผู้อื่น เอะอะและหยาบคาย
ด้านความตั้งใจและสมาธิ 
จอจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในระยะสั้น อาจไม่เกิน 20 วินาที ถูกสิ่งต่างๆรอบตัวดึงความสนใจได้ตลอดเวลา งัวเงีย ไม่แสดงความสนใจใดๆ
สมาธิสั้น 




การถอนตัวหรือล้มเลิก
หลีกเลี่ยงการปฎิสัมพันธ์กับผู้อื่นและมักรู้สึกว่าตนเองด้อยกว่าผู้อื่น เฉื่อยชาและมีลีกษณะคล้ายเหนื่อยตลอดเวลา ขาดความมั่นใจ ขี้อาย ขี้กลัว

ความผิดปกติในการทำงานของร่างกาย
ความผิดปกติที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการกิน การอาเจียนโดยสมัครใจ การปฏิเสธที่จะรับประทาน รับประทานสิ่งที่รับประทานไม่ได้ โรคอ้วน

ภาวะความบกพร่องทางพฤติกรรม 
ขาดเหตุผลในการคิด อาการหลงผิด อาการประสาทหลอน พฤติกรรมการทำร้ายตัวเอง

สาเหตุ
ปัจจัยทางชีวภาพ และปัจจัยทางจิตสังคม

เด็กสมาธิสั้น








สาเหตุ
ความผิดปกติของสารเคมีบางชนิดในสมอง เช่น โดปามีน นอร์อิพิเนเฟริน
ความผิดปกติในการทำงานของวงจรที่ควบคุมสมาธิ และการตื่นตัวอยู่ ที่สมองส่วนหน้า พันธุกรรม สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ







ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
อุจจาระ ปัสสาวะรดเสื้อผ้า หรือที่นอน ยังติดขวดนมหรือตุ๊กตาและขอใช้ในวัยทารก ดูดนิ้ว กัดเล็บ หงอยเหงาเศร้าซึม เรียกร้องความสนใจ




เด็กที่มีความบกพร่องที่มากกว่า 1 อย่าง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด เด็กที่ทั้งตาบอดและหูหนวก



Application
  สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการปรับการเรียนการสอนกับเด็กพิเศษได้ถูกวิธีและเหมาะสมกับกับเด็กและรู้แนวทางในการพัฒนาพร้อมแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง

Self Evaluation
  แต่งกายถูกระเบียบ   มาเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังขณะที่อาจารย์กำลังสอน ให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม

Evaluation for classmated
เพื่อนมาเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังขณะที่อาจารย์กำลังสอน

Evaluating teacher
  มาสอนตรงเวลา สอนสนุกเป็นกันเองทำให้ไม่เครียดในการเรียนและมีความสุขในการเรียนวิชานี้
                                                Lesson 8
                                              04/03/2016



                     งดการเรียนการสอน